เป็นหนี้บัตรเครดิต – บัตรกดเงิน และสินเชื่อ เท่าไหร่ถึงโดนฟ้องศาล? แล้วจะถูกยึดทรัพย์ไหม?

ไม่จ่ายยอดขั้นต่ำมานานแล้วโดนฟ้อง ไม่ไปศาล มีความผิดไหม?

ในเว็บไซต์ Pantip จะมีผู้ที่เป็นหนี้บัตรเครดิต, บัตรกดเงินสด และสินเชื่อ จำนวนมากออกมาสอบถามเกี่ยวกับการไม่จ่ายบัตรเครดิต ซึ่งมีความกังวลว่า หากได้รับหมายศาลแล้วไม่ไปศาลจะเป็นอย่างไร? หรือมียอดค้างเท่าไหร่? ถึงจะโดนฟ้อง เรื่องราวของการใช้บัตรเครดิตนั้น หากไม่มีวินัยการจ่ายคืนกันตั้งแต่ต้น แล้วถูกฟ้องขึ้นมา จะต้องมีขั้นตอนอย่างไร? วันนี้ผู้เขียนมีคำตอบจาก “ชมรมหนี้บัตรเครดิต” มาเล่าให้ฟังค่ะ

ยอดเท่าไหร่? ถึงโดนฟ้อง
ใช่ 2,000 บาท หรือเปล่า?

โชคดีที่ตั้งแต่ปี 2561 เป็นต้นมา ดอกเบี้ยบัตรเครดิตอยู่ที่ 18% (ก่อนหน้านี้เป็น 20%) ทำให้คนที่ค้างยอดเยอะ ๆ มานานได้มีโอกาสกลับตัวค่อย ๆ ปิดบัตรทีละใบไปเรียบร้อยแล้ว แต่สำหรับท่านที่ยังมียอดใช้จ่ายเยอะ ๆ อยู่อาจจะเป็นกังวลว่าเมื่อไม่ได้จ่ายขั้นต่ำ และยอดเต็มจำนวนมานาน เป็นยอดเท่าไหรถึงจะโดนฟ้อง?

โดยปกติแล้วไม่ต้องรอถึงวันจ่ายรอบบิลถัดไป หากคุณไม่ได้ชำระเพียงเดือนเดียวก็จะมีเจ้าหน้าที่เร่งรัดหนี้สินจากบัตรเครดิตโทรมาแล้ว (แต่คาดว่าปัจจุบันนี้หากเกินกำหนดชำระ 2 วัน ก็มีคนโทรมาถามแล้วจ้า ว่าจะพร้อมจ่ายเมื่อไหร่?) ผู้ที่เป็นลูกค้าชั้นดีได้ยินเสียงคนโทรมาพูดแบบนี้ก็รีบจ่ายคืน แต่หากคนที่หมุนเงินไม่ทัน ไม่มีจ่ายจริง ๆ จะทำอย่างไร?

ไม่มียอดขั้นต่ำส่งฟ้องที่แน่นอน

ไม่สามารถพูดได้ว่า ไม่จ่าย 20,000 หรือ 80,000 บาท แล้วจะโดนฟ้อง ตามข้อกำหนดในสัญญาบัตรเครดิต หากได้อ่านกันดี ๆ ก็จะมีข้อกำหนดว่าหากชำระไม่ตรงเวลา หรืออื่น ๆ ทางเจ้าหนี้อย่างธนาคารหรือสถาบันการเงินต่าง ๆ ก็มีสิทธิ์ส่งเรื่องฟ้องแล้ว

ซึ่งคาดว่า ขั้นต่ำที่สามารถแจ้งความส่งฟ้องได้ จะเป็นยอดเดียวกับขั้นต่ำในการกู้ยืมเงินปกติ ก็คือ 2,000 บาท ซึ่งทางสถาบันการเงินเขามีสัญญาตอนทำบัตรเครดิต บัตรกดเงินสด หรือสินเชื่ออยู่แล้ว และหากมีเงินเดือนหรือรายได้ต่อเดือนเกิน 20,000 บาท ขึ้นไป (ต่อครอบครัว) สุดท้ายแล้วศาลอาจจะยึดทรัพย์สินบางส่วนมาขายทอดตลาดคืนให้เจ้าหนี้ได้เช่นกัน

ขั้นตอนโดนฟ้องเป็นอย่างไร?

หากคุณคิดว่าตัวเองใกล้โดนฟ้อง หรือได้รับหมายศาลเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ก็ควรติดต่อหาทนาย เพื่อเขียนคำร้องอธิบายว่า จะส่งชำระคืนอย่างไร? ซึ่งแม้ว่าเป็นคดีแพ่ง ก็ต้องรีบทำอะไรสักอย่างห้ามอยู่เฉย ๆ โดยหลังจากไม่จ่ายแล้วจะมีลำดับขั้นตอนดังนี้

  • มีเจ้าหน้าที่โทรมาสอบถามว่าจะจ่ายเมื่อไหร่? หากคุณหลีกหน้า ไม่รับสายนาน ๆ จะมีผลในข้อต่อไป
  • มีจดหมายมาที่อยู่ที่บ้าน หรือ ออฟฟิศ เริ่มต้นอาจเป็นจดหมายจากธนาคาร หรือ สถาบันการเงินก่อน แต่หากโชคไม่ดี จะมาเป็นหมายศาลให้เข้าไปรับฟัง
  • ได้รับหมายศาล ศาลจะเรียกไปตัดสินก่อน หากคุณไม่ไปฟังคำพิพากษา ก็ต้องส่งเหตุผลไปเลื่อนนัด
  • ไปศาลเพื่อเจรจา หากไม่มีเงินใช้หนี้ ก็ต้องไปฟังตั้งแต่นัดแรก เพื่อเจรจา ตัวอย่างสัญญาประนีประนอมยอมความจากบอร์ดชมรมหนี้บัตรเครดิตมีดังนี้

เป็นหนี้บัตรเครดิตหลังจากโดนฟ้องแล้วมีอายุความ 2 ปี ถือเป็น “คดีแพ่ง” ที่ยอมความได้ด้วยการไกล่เกลี่ยประนีประนอม เพียงแค่ตกลงกับทางเจ้าหนี้ว่าจะจ่ายแบบได้ ได้แก่

  • ให้ยืดทรัพย์สินบางรายการ
  • ให้ยืดเงินเดือนบางส่วน
  • ให้ขายทอดทรัพย์สิน
  • ฯลฯ

โดยทั้งหมดนี้ จะต้องเขียนเป็นลายลักษณ์อักษร ทั้งหมด เพื่อป้องกันการเบี้ยวหนี้อีกในอนาคต ซึ่งหากตกลงกับเจ้าหนี้ได้แล้ว มีโอกาสได้ดอกเบี้ยที่ถูกกว่าดอกเบี้ยบัตรปัจจุบัน หรือหากธนาคารต้องการเงินคืนเร็ว ดอกจะเหลือ 0% ก็มี โดยให้เลือกผ่อนเป็นรายเดือน ไม่เกินกี่เดือน กี่ปี ก็ขึ้นอยู่กับยอดหนี้ ถือว่าเป็นการเปลี่ยนสัญญากู้กันใหม่ จากสัญญาบัตรเครดิต / บัตรกดเงินสด / สินเชื่อ ตัวเดิม โดยต้องเซ็นต์กันต่อหน้าศาล

มีคลิปวิดีโอเกี่ยวกับคำถามที่ว่า “เป็นหนี้บัตรเครดิตติดคุกหรือไม่?” จากชมรมหนี้บัตรเครดิตมาฝากกันค่ะ

 

หน่วยงานใดบ้างที่ช่วยเหลือเรื่อง “หนี้บัตรเครดิต” ได้

  • คลินิกแก้หนี้ : เปิดให้ผู้ที่มีหนี้กับสถาบันการเงินในระบบ เกิน 2 แห่งขึ้นไป และไม่ได้ชำระหนี้ภายในระยะเวลาที่กำหนดจนเกิดเป็นหนี้เสีย สามารถติดต่อขอให้ช่วยเหลือได้
  • ชมรมหนี้บัตรเครดิต : มีทีมทนายที่เชี่ยวชาญเรื่องการประนีประนอมเรื่องบัตรเครดิต คอยให้คำปรึกษา
  • ศูนย์คุ้มครองผู้ใช้บริการทางการเงิน : หากรู้สึกว่าจ่ายดอกเบี้ยไม่เป็นธรรม หรือมีข้อสงสัยที่ไม่เข้าใจเกี่ยวกับการใช้บัตรเครดิต ที่หาคำตอบจากสถาบันการเงินต่าง ๆ ไม่ได้ ก็ติดต่อสอบถามได้ที่เบอร์ 1213

ที่มาจาก “ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับหน้าที่ของศาล” http://debtclub.consumerthai.org

บทความที่เกี่ยวข้อง :

 

 

 

Previous articleวันเดียวเท่านั้น! Flash Sale Beauty Day ลดสูงสุด 80% ที่ Shopat24
Next article10 โฟมล้างหน้าลดสิวใช้ดี 2022 ราคาไม่แพง