ป่วยโควิดอาการแบบไหนเข้าข่ายการรักษาแบบยูเซ็ปหรือยูเซ็ปพลัส
จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส Covid-19 ซึ่งในปัจจุบันสถานการณ์ติดเชื้อรายวันยังคงมียอดผู้ติดเชื้อที่พุ่งสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง จนทำให้ในขณะนี้กระทรวงสาธารณสุขได้มีการประกาศเตือนภัยโควิดระดับ 4 ทุกจังหวัดทั่วประเทศ และเน้นให้แต่ละพื้นที่มีการปรับมาตรการเข้มข้นขึ้นเพื่อควบคุมการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส Covid 19 หลังจากที่พบผู้ติดเชื้อใหม่เพิ่มขึ้นอย่างมาก โดยล่าสุดเมื่อวันที่ 1 มี.ค. 2565 นี้ กระทรวงสาธารณสุข(สธ.) จะยกเลิกประกาศเรื่องกำหนดผู้ป่วยฉุกเฉินโรคติดต่ออันตราย ตามกฎหมายว่าด้วยโรคติดต่อกรณีติดเชื้อไวรัสโควิด-19 ให้เป็นโรคฉุกเฉิน จึงทำให้ผู้ที่ป่วยได้สิทธิยูเซ็ป (UCEP) ในการรักษาฟรีได้ทุกที่ทุกโรงพยาบาล โดยมีการเตรียมปรับให้ผู้ติดเชื้อโควิด-19 เข้าสู่ระบบการรักษาตามสิทธิ ซึ่งจะไม่เสียค่าใช้จ่าย ยกเว้นไปรักษาที่โรงพยาบาลเอกชนนอกระบบโดยไม่มีอาการจะต้องรับผิดชอบค่าใช้จ่ายเอง
ทำความรู้จักยูเซ็ป และ ยูเซ็ปพลัส ต่างกันยังไง ป่วยแบบไหนถึงเข้าเกณฑ์

ยูเซ็ป (Universal Coverage for Emergency Patients : UCEP)
คือ สิทธิการรักษาผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤติที่สามารถเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลทุกแห่งที่ใกล้บ้านของคุณที่สุดได้ โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายจนกว่าจะพ้นวิกฤติ อาทิ มีอาการหมดสติ ไม่รู้สึกตัว ช็อก หายใจเร็ว หอบเหนื่อยมาก เจ็บหน้าอกเฉียบพลัน อ่อนแรงแขนขา หรือสามารถเคลื่อนย้ายได้โดยปลอดภัย แต่ไม่เกิน 72 ชั่วโมง
อาการป่วยเข้าเกณฑ์วิกฤติฉุกเฉิน 6 อาการ
- หมดสติ ไม่รู้สึกตัว ไม่หายใจ
- หายใจเร็ว หอบเหนื่อยรุนแรงหายใจติดขัดมีเสียงดัง
- ซึม เหงื่อออกเยอะ ตัวเย็น
- เจ็บหน้าอกเฉียบพลันและรุนแรง
- แขนขาอ่อนแรงครึ่งซีกพูดไม่ชัดแบบปัจจุบันทันด่วนหรือชักต่อเนื่องไม่หยุด
- อาการอื่นที่มีผลต่อการหายใจ ระบบการไหลเวียนโลหิต และระบบสมองที่เป็นอันตรายต่อชีวิต
*หากพบอาการที่เข้าข่ายเจ็บป่วยฉุกเฉิน สามารถโทร.1669 สำหรับกรณีเจ็บป่วยฉุกเฉินวิกฤต มีสิทธิรักษาทุกที่โดยไม่ต้องสำรองจ่าย
ยูเซ็ปพลัส (UCEP Plus)
คืออีกหนึ่งช่องทางในการรองรับผู้ติดเชื้อโควิดที่มีโรคร่วมเดิม สำหรับยูเซ็ปพลัสเป็นการดำเนินการเพื่อเตรียมรองรับผู้ติดเชื้อโควิดอาการสีเหลือง สีแดง ที่สามารถใช้สิทธิยูเซ็ปรักษาได้ทุกโรงพยาบาล โดยการกำหนดนิยามของผู้ที่เข้าข่ายจะเป็นผู้ที่โรคร่วมเดิมอะไรบ้างกำลังอยู่ในขั้นตอนของการพิจารณาหารือ
เกณฑ์รักษาโควิด-19 ฟรีตามสิทธิที่มี
กองทุนสวัสดิการข้าราชการ
สามารถเข้ารับการรักษาได้ในโรงพยาบาลของรัฐทุกแห่งทั่วประเทศฟรี กองทุนบัตรทองสามารถเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลรัฐและสถานพยาบาลเครือข่ายทุกแห่งฟรี
ประกันสังคม
ทางสำนักงานประกันสังคมได้มีการประชุมคณะกรรมการการแพทย์เพื่อหารือถึงการดูแลผู้ป่วย เนื่องจากทางด้านประกันสังคมมีทั้งสถานพยาบาลเครือข่ายรัฐและเอกชน ซึ่งโรงพยาบาลในเครือข่ายประกันสังคมจะให้บริการทางการแพทย์แก่ผู้ประกันตนที่ในอยู่ระบบประกันสังคมมาตรา 33 และมาตรา 39 ที่ติดโควิด-19 โดยได้รับการดูแลและรักษาฟรี พร้อมทั้งเตรียมความพร้อมในการบริหารจัดการเตียง ในรูปแบบ Hospitel ให้แก่ผู้ติดเชื้อ พร้อมจ่ายเงินชดเชยตามเงื่อนไขที่กำหนดของผู้ป่วยที่เข้าเกณฑ์
กระทรวงสาธารณสุขปรับการรักษาโควิดตามสิทธิ
ในวันที่ 1 มี.ค. กระทรวงสาธารณสุขได้มีการปรับการรักษาโควิดเป็นไปตามสิทธิ โดยมีการวางหลักเกณฑ์ ดังนี้
- สำหรับผู้ป่วยสีเขียวจะให้เข้ารับการรักษาที่บ้าน (Home Isolation) หรือรักษาในชุมชนเป็นหลัก (HI/CI First)
- สำหรับผู้ป่วยสีเหลืองและสีแดง ให้เข้าสู่การรักษาด้วยสิทธิยูเซ็ปที่สามารถรักษาได้ทุกที่ทั้งโรงพยาบาลรัฐและเอกชนได้ ในกรณียูเซ็ปพลัส ผู้ต้องการใช้สิทธิยูเซ็ปพลัส จะมีทั้งกรณีที่อยู่ HI/CI แล้ว
- เมื่อติดตามประเมินอาการพบอาการเปลี่ยนแปลงเป็นผู้ป่วยสีเหลืองและสีแดง จะมีโรงพยาบาลคู่สัญญาหรือคลินิกชุมชนอบอุ่นดูแลในการส่งผู้ป่วยต่อเพื่อเข้าสู่การรักษาในโรงพยาบาลทันที
นอกจากนี้ยังมีข้อมูลที่ควรรู้เมื่อติดโควิด-19 กับเบอร์โทรศัพท์ที่จำเป็นในการติดต่อประสานงานในการเข้ารับการรักษา อาทิ กรณีรักษาตัวใน Home Isolation สามารถโทรสายด่วน 1330 กรณีโทรสายด่วน 1330 ไม่ติด ทางด้านสปสช.ได้มีการจัดเจ้าหน้าที่โทรกลับสายที่โทรไม่ติดเพื่อรับข้อมูลเข้าระบบ หรือใช้ช่องทางลงทะเบียนด้วยตนเองตาม https://crmsup.nhso.go.th/#TicketHI หรือผ่านช่องทางไลน์ สปสช. พิมพ์ @nhso สิทธิบัตรทองโทร 1330 , ประกันสังคมโทร 1506 , เบิกจ่ายตรงข้าราชการโทร 02-2706400 และสิทธิต่าวด้าวโทร 02-5901578 ต่างจังหวัดให้ประสาน 1669
ข้อมูลจาก : bangkokbiznews, thansettakij
READ MORE :
- สเปรย์พ่นจมูกป้องกันโควิดของไทย ยับยั้งไวรัส ลดความรุนแรง
- วิธีลงทะเบียนรักษาโควิดที่บ้าน ทำอย่างไร ช่องทางไหนบ้าง
- สธ.เพิ่มแนวทางรักษาโควิด “เจอ แจก จบ” สำหรับผู้ป่วยนอก
- ผู้ประกันตนติดโควิด รักษาฟรี สิทธิ์ประกันสังคมที่ไม่ควรมองข้าม