เด็ก กับ ผู้ใหญ่ มีอาการติดเชื้อโควิด-19 ต่างกันยังไง ?

   อาการผู้ติดเชื้อโควิด-19 ในเด็กและผู้ใหญ่   

สถานการณ์ที่จะไม่พูดถึงไม่ได้เลยในตอนนี้ก็คือ สถานการณ์การแรพ่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา หรือที่ทุกคนรู้จักกันดีในชื่อ โควิด-19 ที่ตอนนี้ทำให้ทุกคนตื่นตัวกันเพิ่มมากขึ้น ทั้งในเรื่องของการดูแลสุขภาพ การรักษาความ การกินอาหาร รวมไปถึงการเว้นระยะห่างทางสังคม ซึ่งทั้งหมดนี้ไม่ได้เป็นการตื่นตูมแต่อย่างใด เพียงแต่มันเป็นสิ่งที่จำเป็นที่จะทำให้เราและคนในครอบครัวอยู่รอดปลอดภัยที่สุด เพราะ ถ้าทุกคนได้ติดตามข่าวสารต่าง ๆ ก็จะทำให้รู้เลยว่าตัวเลขของผู้ติดเชื้อนั้นมีจำนวนที่เพิ่มมากขึ้นทุกวัน และอัตราผู้เสียชีวิตก็มีจำนวนเพิ่มมากขึ้นเช่นเดียวกัน ซึ่งอาการหลัก ๆ ของโรคโควิด-19 นี้ ก็จะมีอาการต่าง ๆ ดังนี้ มีไข้ 37.5 องศา ขึ้นไป มีประวัติการเดินทางไปยังพื้นที่เสี่ยง มีประวัติใกล้ชิดกับนักท่องเที่ยวหรือผู้ป่วยที่เคยติดเชื้อโควิด-19มาก่อน มีอาชีพที่ต้องพบกับชาวต่างชาติ หรือบุคลากรทางการแพทย์ที่ดูแลผู้ป่วยโควิด-19อยู่ ซึ่งอาการที่กล่าวมานี้ เป็นแค่อาการที่พบได้ในผู้ป่วยส่วนใหญ่เท่านั้น เพราะ ผู้ติดเชื้อนี้ยังพบอาการที่แตกต่างกันออกไป

และในขณะเดียวกันเด็กและผู้ใหญ่ก็จะมีข้อแตกต่างกันในการติดเชื้อ แล้วจะทราบได้อย่างไรว่าติดเชื้อแล้วหรือยัง ? ซึ่งเรื่องนี้ นพ.ธนรักษ์ ผลิพัฒน์ รองอธิบดีกรมควบคุมโรค ก็โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กส่วนตัว “หมอแก้ว ผลิพัฒน์” เกี่ยวกับเรื่อง “อาการและความรุนแรงของโรคไวรัส โควิด-19” และได้สรุปเรื่องความแตกต่างของผู้ป่วยในแต่ละวัยมาให้อ่าน

ที่มา https://www.facebook.com/permalink.php?story_fbid=2666698723439812&id=100002991325094

   โดยในเฟซบุ๊กระบุไว้ว่า   

 คำถาม คำถามแรก ถ้าป่วยด้วยโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 อาการจะเป็นยังไงบ้าง

 ตอบ :  ผู้ใหญ่กับเด็กอาการจะไม่เหมือนกันครับ

  • ผู้ใหญ่จะมีไข้ประมาณร้อยละ 89
  • มีอาการไอ ร้อยละ 68
  • มีอาการอ่อนเพลีย ร้อยละ 14
  • มีน้ำมูกแค่ประมาณร้อยละ 5
  • มีอาการปวดเมื่อยตามร่างกาย ร้อยละ 15
  • มีอาการอ่อนเพลีย ร้อยละ 38
  • มีอาการหายใจลำบากหรือหายใจเร็ว ร้อยละ 19

ส่วนในเด็กจะมีอาการน้อยกว่า คือ

  • เด็กที่ป่วยด้วยโรคโควิดร้อยละ 42 ที่มีอาการไข้
  • ร้อยละ 49 มีอาการไอ (จะเห็นว่าอาการไอพบได้บ่อยกว่าไข้ ในเด็ก)
  • มีน้ำมูก ร้อยละ 8
  • มีอาการอ่อนเพลีย ร้อยละ 8
  • หายใจลำบากหรือหายใจเร็ว ร้อยละ 29%

  คำถามต่อมา คือหากติดเชื้อแล้วจะเสียชีวิตมากน้อยแค่ไหน ?

  ตอบ ในกลุ่มผู้ที่มีอายุน้อยจะพบผู้ที่มีอาการรุนแรงค่อนข้างน้อย อายุมากขึ้นก็จะพบผู้ที่มีอาการรุนแรงมากขึ้นด้วย คือ

  • หากมีผู้ป่วยโรคโควิดที่มีอายุน้อยกว่า 39 ปี หนึ่งร้อยคน จะมีผู้เสียชีวิตเพียง 0.2 คน
  • หากมีผู้ป่วยโรคโควิดที่มีอายุ 40-49 ปี หนึ่งร้อยคน จะมีผู้เสียชีวิต 0.4 คน
  • หากมีผู้ป่วยโรคโควิดที่มีอายุ 50-59 ปี หนึ่งร้อยคน จะมีผู้เสียชีวิต 1.3 คน
  • หากมีผู้ป่วยโรคโควิดที่มีอายุ 60-69 ปี หนึ่งร้อยคน จะมีผู้เสียชีวิต 3.6 คน
  • หากมีผู้ป่วยโรคโควิดที่มีอายุ 70-79 ปี หนึ่งร้อยคน จะมีผู้เสียชีวิต 8 คน
  • หากมีผู้ป่วยโรคโควิดที่มีอายุ 80 ปีขึ้นไป หนึ่งร้อยคน จะมีผู้เสียชีวิต 14.8 คน
ที่มา https://www.facebook.com/permalink.php?story_fbid=2666698723439812&id=100002991325094

ทั้งหมดที่กล่าวมานี้ ก็จะเห็นได้ว่าหากผู้สูงอายุป่วยด้วยโรคโควิดจะมีโอกาสเสียชีวิต สูงกว่า ผู้ป่วยที่มีอายุน้อยกว่า และถึงแม้เด็กที่ติดเชื้อแล้วมีอาการไม่มาก แต่ถ้าในบ้านมีทั้งเด็กและผู้สูงอายุอาศัยอยู่ด้วยกัน เด็กที่อาการไม่มากอาจทำให้ผู้สูงอายุติดเชื้อได้ ซึ่งหากผู้สูงอายุติดเชื้อขึ้นมาโอกาสที่จะมีอาการรุนแรงและเสียชีวิตก็จะสูงด้วย

และทั้งหมดนี้ก็เป็นข้อมูลที่ นพ.ธนรักษ์ ผลิพัฒน์ รองอธิบดีกรมควบคุมโรค ได้ออกมาให้ความรู้กับทุกคนผ่านโซเชียล ซึ่งถือได้ว่าเป็นข้อมูลที่มีประโยชน์มาก เพราะ จะทำให้คนที่ได้อ่านตื่นตัวกันเพิ่มมากขึ้น และท้ายที่สุดแล้วการป้องกันที่ดีที่สุดก็ต้องเริ่มมาจากการป้องกันตัวเองก่อน ซึ่งวิธีการป้องกันต่าง ๆ นั้นก็จะเป็นเกราะกำบังให้เราลดความเสี่ยงต่อการติดเชื้อโควิด-19 นี้ได้

ที่มา https://www.virus-doctor.com/?

และอีกหนึ่งวิธีการป้องกันเชื้อโรคที่เรามักได้เห็นตามสื่อต่าง ๆ ที่เป็นที่นิยมของหน่วยราชการ บริษัท มหาวิทยาลัย หมู่บ้านต่าง ๆ รวมไปถึงตามบ้านเรือนของประชาชน คือการ พ่นยาฆ่าโควิด-19 ที่ตอนนี้ก็มีบริษัทต่าง ๆ ออกมาอำนวยความสะดวกให้กับประชาชน ซึ่งวิธีนี้ก็เป็นอีกวิธีหนึ่งที่มาสร้างความสบายใจ ความอุ่นใจให้กับคน และช่วยกำจัดเชื้อโรคภายในที่อยู่อาศัยได้ไม่มากก็น้อย

ที่มา http://www.x3gel.com/clean.html?

นี่ก็เป็นอีกวิธีการหนึ่งที่เรานำมาฝากทุกคน แต่ทั้งนี้ไม่เพียงแต่ที่จะใช้แค่บริการกำจัดเชื้อโรคเพียงอย่างเดียว แต่หมายถึงว่าพวกเราทุกคนก็ต้องช่วยกันดูแลรักษาความสะอาดของร่างกายและบ้านเรือนของตัวเองให้ดีที่สุดเท่าที่จะทำได้ เพื่อไม่ให้เกิดผลเสียกับเราในภายหลัง แล้วพวกเราจะผ่านเรื่องราวร้าย ๆ นี้ไปด้วยกัน สู้ ๆ ค่ะทุกคน 🙂

อ่านเพิ่มเติม:

กกพ. ประกาศลดค่าไฟช่วยเหลือวิกฤตโควิด-19 กี่เดือน ?

ลงทะเบียนรับเงิน 5000 เยียวยาโควิด ได้ที่ไหน? ใช้เอกสารอะไรบ้าง?

นักศึกษาลงทะเบียนเราไม่ทิ้งกันรับเงิน 5,000 ได้ไหม ?

 

Previous articleรวมสูตรเบเกอรี่โฮมเมดไม่ใช้เตาอบ ทำทานเองง่ายๆ 
Next article10 เกมออกกําลังกายช่วงกักตัวอยู่บ้าน ได้ทั้งความสนุก และสุขภาพที่ดี