ออกพรรษาวันที่เท่าไหร่ ชาวพุทธมีธรรมเนียมปฏิบัติอย่างไร

ช่วงเดือนตุลาคม มีหนึ่งวันสำคัญในทางศาสนาที่ชาวพุทธมีประเพณีปฏิบัติสืบทอดมาช้านานนั่นก็คือ วันออกพรรษา ถือเป็นวันสิ้นสุดฤดูจำพรรษา 3 เดือนของพระสงฆ์เถรวาท สำหรับปี 2566 นี้ วันออกพรรษา จะตรงกับวันอาทิตย์ที่ 29 ตุลาคม สำหรับความสำคัญของวันออกพรรษามีอะไรบ้าง และในฐานะชาวพุทธทำบุญออกพรรษาอย่างไร มาติดตามกันได้ในบทความนี้

วันออกพรรษา คือวันอะไร

วันออกพรรษา หรือเรียกอีกชื่อว่า วันปวารณา หรือ วันมหาปวารณา คือการสิ้นสุดของการเข้าพรรษาจะเกิดขึ้นในวันพระจันทร์เต็มดวงของเดือนตุลาคม เป็นการสิ้นสุดระยะเวลา 3 เดือนของการบำเพ็ญกุศลอย่างเข้มข้นในช่วงเข้าพรรษา โดยวันออกพรรษา จะตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำเดือน 11 (เพ็ญเดือน 11) ของทุกปี ซึ่งในปี 2566 ตรงกับวันอาทิตย์ที่ 29 ตุลาคม ถือเป็นวันสิ้นสุดแห่งการจำพรรษาของพระภิกษุสงฆ์ หมายถึงพระภิกษุสงฆ์ได้จำพรรษาครบกำหนด 3 เดือน ตามพระพุทธบัญญัติแล้ว ท่านมีสิทธิ์ที่จะจาริกไปพักค้างคืนที่อื่นได้ ไม่ผิดพระพุทธบัญญัติและยังได้รับอานิสงส์ 4 ประการ ได้แก่

  • ไปไหนไม่ต้องบอกลา
  • ไม่ต้องถือผ้าไตรครบชุด
  • ลาภที่เกิดขึ้นแก่ท่านมีสิทธิ์รับได้
  • มีโอกาสได้อนุโมทนากฐินและได้รับอานิสงส์คือได้รับการขยายเวลาของ

วันออกพรรษา เป็นการย้อนรำลึกถึงเหตุการณ์ที่องค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า เสด็จกลับมาจากสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ ซึ่งบรรดาชาวพุทธจะต้องเตรียมอาหารเพื่อถวายพระสงฆ์หลังวันออกพรรษา 1 วัน ซึ่งก็คือวันแรม 1 ค่ำ เดือน 11 ในส่วนพระภิกษุสงฆ์จะมีการทำพิธี “มหาปวารณา” คือสามารถว่ากล่าวตักเตือนซึ่งกันและกันได้ (พระผู้ใหญ่ว่ากล่าวตักเตือนพระผู้น้อย และพระผู้น้อยก็ชี้แนะพระผู้ใหญ่ที่อาวุโสกว่าได้) หากระหว่างเข้าพรรษาพบเห็นข้อบกพร่องต่าง ๆ รวมถึงเปิดโอกาสให้ซักถามข้อธรรมหากมี ทั้งนี้ต้องอยู่ในกรอบของพระวินัย

ตักบาตรเทโว ออกพรรษา
ตักบาตรเทโว ทำบุญวันออกพรรษา

ความสำคัญของ วันออกพรรษา

วันออกพรรษา ถือเป็นวันสำคัญในทางพุทธศาสนา ด้วยเหตุผลดังนี้

1. นับจากวันออกพรรษาเป็นต้นไป พระสงฆ์สามารถจาริกไปค้างแรมที่อื่นได้
2. เมื่อออกพรรษาแล้วพระสงฆ์จะได้นำความรู้จากหลักธรรมและประสบการณ์ที่ได้รับระหว่างพรรษาไปเผยแผ่แก่ประชาชน
3. ในวันออกพรรษาพระสงฆ์ได้ทำปวารณา กล่าวคือ เปิดโอกาสให้พระภิกษุว่ากล่าวตักเตือนความประพฤติของตนได้ เพื่อให้เกิดความบริสุทธิ์ และความสามัคคีกัน
4. พุทธศาสนิกชนได้นำแบบอย่างไปทำปวารณาเปิดโอกาสให้ผู้อื่นว่ากล่าว ตักเตือนตนเอง เพื่อประโยชน์ต่อการพัฒนาตนและสร้างสรรค์สังคมต่อไป

ในช่วงออกพรรษามีกิจกรรมและเหตุการณ์สำคัญเกิดขึ้นดังนี้

  • วันสิ้นสุดฤดูฝนตามประเพณี

เมื่อสิ้นสุดวันเข้าพรรษา พระภิกษุก็สามารถออกจากวัดไปเผยแผ่พระธรรมเทศนาได้อย่างอิสระ นี่เป็นวันแห่งการเฉลิมฉลองและเป็นโอกาสที่ดีในการทำบุญให้กับประชากรชาวพุทธที่เหลือ วันออกพรรษายังเป็นการสิ้นสุดฤดูฝนตามประเพณีอีกด้วย

  • พิธีทอดผ้ากฐิน (ถวายผ้ากฐิน)

พิธีทอดกฐิน เป็นกิจกรรมที่สำคัญที่สุดช่วงปลายออกพรรษา ฆราวาสถวายจีวรใหม่และปัจจัยอื่น ๆ แก่ชุมชนสงฆ์ ถือเป็นการแสดงความมีน้ำใจและกำลังใจแก่พระภิกษุที่เข้าพรรษาแล้ว

  • ตักบาตรเทโว

การตักบาตรเทโว ออกพรรษา คือการที่ฆราวาสถวายบิณฑบาตและสิ่งของต่าง ๆ แก่วัด รวมถึงอาหาร (นิยมใช้ ข้าวต้มมัด และข้าวต้มลูกโยน) จีวร และสิ่งจำเป็นอื่น ๆ เชื่อกันว่าจะสร้างบุญกุศลให้แก่ชาวพุทธผู้ปฏิบัติ

  • เทศน์มหาชาติ

พระภิกษุกล่าวธรรมเทศนาแก่ฆราวาส แบ่งปันความรู้ที่ได้รับระหว่างเข้าพรรษา และให้คำแนะนำในการปฏิบัติธรรม นิยมจัดในวันขึ้นหรือแรม 8 ค่ำ เดือน 12

  • การร่วมกันเฉลิมฉลองของชาวพุทธ

ชุมชนชาวพุทธมักจะรวมตัวกันเพื่อเฉลิมฉลองในวันออกพรรษา ทั้งนี้ก็เพื่อสร้างความรู้สึกเป็นชุมชนและความสามัคคี อาจจัดงานเฉลิมฉลอง กิจกรรมทางวัฒนธรรม และอาหารส่วนกลาง

และทั้งหมดนี้ก็คือวันออกพรรษา หนึ่งในวันที่สำคัญที่สุดวันหนึ่งทางพุทธศาสนา ระบุความสําคัญ และกิจกรรมที่ชาวพุทธควรทำหลังออกพรรษามีอะไรบ้าง หวังว่าจะเกิดประโยชน์เป็นความรู้ให้กับเพื่อน ๆ นำไปปฏิบัติในวันออกพรรษา 2566 ที่กำลังจะมาถึงในวันอาทิตย์ที่ 29 ตุลาคมนี้ ซึ่งถือเป็นวันพระเดือนตุลาคมด้วย

อ่านบทความที่น่าสนใจ

Previous articleตักบาตรเทโว ออกพรรษา ใส่อะไรบ้างเกิดประโยชน์ – ได้บุญ
Next articleคนท้องกินเจได้ไหม ไขข้อสงสัยเพื่อความปลอดภัยของลูกน้อย