วัคซีนที่ดีคือวัคซีนที่มีประสิทธิภาพป้องกันโรค
การระบาดของโควิด-19 ส่งผลกระทบในหลายด้านตั้งแต่เดือนธันวาคม 2019 ที่เริ่มพบการระบาด จนมาถึงปี 2022 ก็ยังมีการระบาดอยู่ ถึงแม้จะมีการผลิตวัคซีนใหม่ ๆ ออกมา แต่ไวรัสก็มีการกลายพันธุ์เพื่อหลีกภูมิคุ้มกันของมนุษย์อยู่เสมอ ตอนนี้การกลายพันธุ์ที่น่าเป็นห่วง (Variant of Concern: VOC) คือ สายพันธุ์โอไมครอนที่กระจายการระบาดในทุกภูมิภาคของโลก
อาการของผู้ป่วยโควิดสายพันธุ์โอไมครอน
โรคโควิดเป็นโรคที่เกี่ยวข้องกับระบบทางเดินหายใจ ซึ่งระบบที่เกี่ยวข้องกับการหายใจจะได้รับผลกระทบ ส่วนที่น่าเป็นห่วงคือปอด การป้องกันไม่ให้ไวรัสลงปอดจึงมีความสำคัญ ที่ผ่านมาไวรัสโควิดกลายพันธุ์หลายสายพันธุ์พยายามที่จะกระจายเชื้อเข้าไปในปอดมนุษย์ สร้างความวิตกให้คนในสังคม สายพันธุ์โอไมครอนเองก็เช่นกัน แม้อาการจะฟังดูไม่หนัก แต่ก็ไม่ควรวางใจ เพราะหากลงปอดแล้วจะส่งผลกระทบต่อร่างกายเป็นอย่างมาก อาการโควิดสายพันธุ์โอไมครอนมีดังนี้
- มีไข้ต่ำ – รู้สึกครั่นเนื้อครั่นตัว ไข้ต่ำ ๆ ไม่สูงมาก ไม่สัมผัสถึงความร้อน
- ไอแห้ง – อาการไอแบบไม่มีเสมหะ รู้สึกระคายคอ เพราะเชื้อไวรัสมักจะกระจุกอยู่ที่คอ
- เหงื่อออกตอนกลางคืน – อาการเฉพาะของโอไมครอน มีเหงื่อออกตอนแม้จะเปิดแอร์และไม่รู้สึกร้อน
- ปวดเมื่อยตามร่างกาย – รู้สึกปวดเมื่อยบริเวณข้อต่อและกล้ามเนื้อ
- เหนื่อยง่าย – หากเชื้อมีการลงปอด ผู้ป่วยจะรู้สึกเหนื่อยเป็นพิเศษ
อาการของโอไมครอนมีอาการคล้ายไข้หวัดปกติ หากพบอาการใดอาการหนึ่งในนี้ ควรตรวจร่างกายด้วยชุดตรวจ ATK เพื่อความอุ่นใจ และหากพบว่าตนเองเป็นกลุ่มเสี่ยงควรตรวจร่างกายด้วยวิธี RT-PCR อีกครั้งเพื่อความมั่นใจด้วยหากไม่พบเจอเชื้อจากชุดตรวจ
การทดลองวัคซีนไฟเซอร์สำหรับโอไมครอนโดยเฉพาะ

สถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิดสายพันธุ์โอไมครอน ทำให้ผู้ผลิตวัคซีนหลายฝ่ายจับตามอง เพราะเชื้อไวรัสมีการกลายพันธุ์หลายตำแหน่ง และทำให้ประสิทธิภาพของวัคซีนลดน้อยลง ไฟเซอร์จึงมีการเริ่มทดลองวัคซีนสูตรสำหรับต้านเชื้อไวรัสโอไมครอนโดยเฉพาะ โดยแบ่งกลุ่มตัวอย่างออกเป็น 3 กลุ่ม ดังนี้
กลุ่มตัวอย่างเป็นประชากรในวัย 18 – 55 ปี จำนวน 1,415 คน มีคุณสมบัติการฉีดวัคซีนแตกต่างกันไป และถูกแบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่
กลุ่มที่ 1 จำนวน 615 คน
- ฉีดวัคซีนไฟเซอร์มาแล้ว 2 โดส
- มีการฉีดวัคซีนภายใน 90 – 180 วันก่อนทำการทดสอบ
การทดลอง: กลุ่มนี้จะได้รับการฉีดวัคซีนโอไมครอนอีกคนละ 1หรือ 2 โดส แล้วนำมาเปรียบเทียบกัน
กลุ่มที่ 2 จำนวน 600 คน
- เคยฉีดวัคซีนไฟเซอร์มาแล้วครบโดส
- ได้รับบูสเตอร์โดสเป็นไฟเซอร์ รวมฉีดวัคซีนมาแล้ว 3 เข็ม
การทดลอง: กลุ่มนี้จะได้รับการฉีดวัคซีนวัคซีนโอไมครอนจำนวน 1 โดส หรือได้รับบูสเตอร์โดสเป็นไฟเซอร์ปกติ 1 โดส แล้วนำมาเปรียบเทียบกัน
กลุ่มที่ 3 จำนวน 200 คน
- ไม่เคยได้รับวัคซีนมาก่อน
- ไม่เคยเป็นผู้ป่วยโควิดมาก่อน
การทดลอง: กลุ่มนี้จะได้รับวัคซีนโอไมครอนคนละ 3 โดส
การทดลองวัคซีนโอไมครอนของไฟเซอร์ยังคงอยู่ในขั้นตอนการทดลอง โดยในวันที่ 25 มกราคม 2565 ไฟเซอร์เพิ่งได้เริ่มทดลองในกลุ่มเป้าหมายที่กำหนด คาดว่าหลังจากติดตามผลจนได้ข้อสรุปแล้ว จะสามารถพัฒนาและใช้วัคซีนสูตรโอไมครอนได้ภายในเดือนมีนาคม 2565 นี้
โควิดสายพันธุ์โอไมครอนมีความน่ากลัวตามแบบฉบับของตนเอง ถึงแม้อาการจะไม่รุนแรงก็ไม่ควรประมาท ประชาชนควรระมัดระวัง สวมใส่หน้ากากอนามัยทุกครั้งเมื่อออกจากบ้าน ล้างมือบ่อย ๆ มีการพกเจลแอลกอฮอล์ติดตัวไปด้วย หลีกเลี่ยงสถานที่ที่แออัด เชื่อว่าเมื่อประชาชนส่วนให่ได้รับวัคซีนที่มีมาตรฐานจะสามารถสร้างภูมิคุ้มกันหมู่และหยุดการแพร่ระบาดของโควิด-19 ได้ในที่สุด
อ่านเพิ่มเติม:
- ตรวจพบเชื้อไวรัสโควิดโอมิครอนสายพันธุ์ย่อย BA.2 เริ่มระบาดในไทยแล้ว
- 6 ที่บริจาคมูลนิธิเด็กช่วงโควิด ได้บุญ สร้างโอกาสให้น้อง
- ตรวจโควิด ก่อนเข้าทำงาน + ใบผลแลป ยืนยัน ตรวจได้ที่ไหน?
- จบข่าว โควิดสายพันธุ์เดลตาครอน ไม่มีจริง แค่ถอดรหัสผิดพลาด
- บริจาควัคซีนให้เด็กป้องกันโควิด ทำได้ไหม มีเงื่อนไขอะไรบ้าง