จะเดินทางไปกรมขนส่งฯ ทำไมในเมื่อบิ๊กซีใกล้บ้านก็ทำได้
ภาษีรถยนต์ต่อที่ไหนได้บ้าง ? คำถามโลกแตกสำหรับคนมีรถยนต์ เชื่อว่าหลาย ๆ คนคงจะรู้อยู่แล้วสามารถต่อที่กรมขนส่งฯได้ แต่ก็ไม่อยากไปเสียเวลาที่ ๆ คนเยอะ แน่นอนว่าเดี๋ยวนี้ราชการเขาพัฒนาแล้ว อย่างงานทะเบียนราษฏร์ก็มีไปเปิดตามห้างใหญ่ ๆ ให้ประชาชนอย่างเรา ๆ ไปทำเอกสารราชการได้แล้ว หรือการทำพาสปอร์ตก็มีสาขามากมายตามห้างใหญ่ ๆ ที่ยกตัวอย่างมาขนาดนี้ก็เพื่อจะบอกว่าเราสามารถต่อภาษีรถยนต์ได้ที่ตามห้างใหญ่ ๆ แล้วนะ
ตอนนี้กรมขนส่งฯ เขาจัดโครงการ “ช้อปให้พอ แล้วต่อภาษี” เรียกได้ว่าราชการมารอเก็บเงินเราถึงที่เลยทีเดียว เดี๋ยวเรามาดูกันดีกว่าว่ากรมขนส่งฯ จัดโครงการไว้ที่ห้างไหนบ้าง
- บิ๊กซี 14 สาขา เช่น ลาดพร้าว รามอินทรา บางปะกอก สุขาภิบาล 3 สุวินทวงศ์ สำโรง รัชดาภิเษก เพชรเกษม อ่อนนุช ศรีนครินทร์ บางนา บางบอน บางใหญ่
- ห้างพาราไดซ์ พาร์ค
- ห้างเซ็นทรัล รามอินทรา
- ห้างเซ็นทรัลเวิลด์
พอรู้ที่หมายปลายทางแล้ว อย่าพึ่งรีบร้อน ตรวจเอกสารให้เรียบร้อยก่อนคอยออกเดินทาง เอกสารที่เราจะต้องเอาไปนะต้องมี
- ใบคู่มือจดทะเบียน
- หลักฐานการจัดให้มีประกันภัยตาม พ.ร.บ. คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ.2535 ที่ยังไม่หมดอายุ
- หนังสือรับรองสภาพรถจาก (ตรอ.) สำหรับรถยนต์ที่มีอายุจดทะเบียนตั้งแต่ 7 ปีขึ้นไป
- หนังสือรับรองการตรวจและทดสอบสำหรับรถที่ใช้ก๊าซ
เมื่อเราได้เอกสารพร้อมแล้วก็อย่าพึ่งใจร้อนด่วนเดินทาง เรามาดูวิธีคำนวนภาษีกันก่อนดีกว่าว่าเราจะต้องเสียภาษีเท่าไหร่ จะได้เตรียมเงินไปถูก
1.หลักการของมันมีง่าย ๆ คือถ้าเป็นรถยนต์ป้ายทะเบียนข้ามตัวหนังสือดำ นั่งได้ไม่เกิน 7 ที่นั่ง จะคำนวณภาษีกับขนาดเครื่องยนต์ของรถ (CC) ถ้ารถอายุเกิน 6 ปีขึ้นไปจะมีส่วนลดให้ด้วย โดยการคิดภาษีจะมีอัตราดังนี้
1 – 600 CC ละ 0.50 สตางค์
601 – 1800 CC ละ 1.50 สตางค์
1801 ขึ้นไป CC ละ 4 บาท
สมมุติว่าเราขับ Nissan March เครื่อง 1,200 CC จะคำนวณดังนี้
1 – 600 CCแรก จะคิดอัตรา 1 CC ละ 0.50 ก็จะเป็น 600 x 05 = 300 บาท
ต่อมาเราต้องเอา 1,200 CC ไปลบกับ 600 CC แรกที่เราคำนวณภาษาไปแล้ว 1,200 – 600 = 600
ให้เอา 600 CC ที่เหลือมาคำนวณในอัตรา 1 CC ละ 1.50 สตางค์ ก็จะเป็น 600 x 1.5 = 900 บาท
และ 900+300 = 1,200 บาท นี้เป็นจำนวนภาษีที่เราต้องจ่ายทั้งหมด สำหรับใครที่มีรถยนต์เก่า 6 ปีขึ้นไป จดได้ส่วนลด 10% และจะลดลงไปเรื่อย ๆ ตามอายุการใช้งานรถ จนรถยนต์อายุถึง 10 ส่วนลดจะคงที่ที่ 50% เท่านั้น
2.รถป้ายทะเบียนพื้นขาวตัวหนังสือเขียว สำหรับรถยนต์บรรทุกส่วนบุคคลที่เกิน 7 ที่นั่งจะให้เสียภาษีอัตราตามน้ำหนักของรถ ดังนี้
น้ำหนักไม่เกิน 150 คิด 150 บาท
น้ำหนัก 501 – 750 คิด 300 บาท
น้ำหนัก 751 – 1,000 คิด 450 บาท
น้ำหนัก 1,001 – 1,250 คิด 800 บาท
น้ำหนัก 1,251 – 1,500 คิด 1,000 บาท
3.แบบสุดท้ายรถป้ายทะเบียนพื้นขาวตัวหนังสือสีฟ้า สำหรับรถยนต์ส่วนบุคคลเกิน 7 ที่นั่ง คิดอัตราเดียวกันกับรถยนต์บรรทุกส่วนบุคคล คือให้เสียภาษีตามน้ำหนักรถยนต์ ตามอัตราที่กำหนดไว้
สุดท้ายนี้ บอกใบ้ให้นิดนึงว่าถามใครคิดจะไปต่อภาษีรถยนต์ที่ห้างล่ะก็แนะนำว่าให้ไปก่อน 16.00 น. ไม่งั้นเตรียมได้กินแห้วแน่ และโดยเฉพาะพวกที่ไปต่อช้า บอกเลยว่าจะต้องเสียค่าปรับ 1% ต่อเดือนของค่าต่อทะเบียน แต่ถ้าใครไม่อยากเสียค่าปรับและกลัวมีปัญหาตามมา เราก็สามารถไปจ่ายภาษีได้ล่วงหน้าก่อนถึง 3 เดือน
เอาล่ะ เมื่อพร้อมแล้วก็เตรียมตัวไปต่อภาษีรถยนต์กันได้เลย เตรียมเอกสาร เตรียมเงินให้พร้อม ไปต่อภาษีรถยนต์ อย่าปล่อยให้เวลาผ่านไปโดยไม่ทำอะไรเลย เพราะถ้าเราไปต่อช้า หรือขาดการต่อเกิน 3 ปี เดี๋ยวจะกลายเป็นเรื่องยุ่งยากแทน ไปเถอะทำหน้าที่พลเมืองไทยกันดีกว่า ถึงแม้ว่าภาษีของเราจะถูกใช้สุรุ่ยสุร่ายไปหน่อยก็ตาม …
Read more..
• รู้หรือยัง? ทำประกันรถยนต์ เป็นค่าใช้จ่ายที่หักภาษีได้
• ประกันรถยนต์บริษัทไหนดี – รวม 10 บริษัทที่คนทำเยอะที่สุด
• อายุเท่าไหร่ ขับรถยนต์ได้ แบบไม่ผิดกฎหมายไทย
• ประกันภัยรถยนต์ชั้น 1 สินมั่นคงประกันภัย 6,999 บาท ผ่อน 0% 10 เดือน
• ประกันรถยนต์ “ผี” อีกแล้ว ผู้เสียหายสูญเงินเกิน 50 ล้านบาท