สินค้า หนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ มีกี่ประเภทอะไรบ้าง
OTOP ย่อมาจาก (One Tambon One Product) หรือในชื่อภาษาไทยว่าที่คุ้นกันดีว่า “หนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์” ถือเป็นโครงการที่เกิดขึ้นมาเมื่อปี 2544 เมื่อเกือบ 20 ปีที่แล้ว โดยรัฐบาลในสมัยนั้นได้ออกมาประกาศสงครามกับความยากจนเนื่องจากประเทศ ณ ตอนนั้นเผชิญปัญหาวิกฤตทางเศรษฐกิจ ส่งผลให้ประชาชนทุกระดับต้องเดือดร้อนจากปัญหาความยากจนนั่นเอง อย่างไรก็ตามต่อมา พ.ศ. 2549 ได้เปลี่ยนชื่อเป็น “ผลิตภัณฑ์ชุมชน”
หนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ ช่วยแก้ความยากจนได้อย่างไร
โครงการ OTOP เป็นแนวนโยบายเป้าหมายเพื่อช่วยให้ประชาชนในชุมชนยกระดับฐานะความเป็นอยู่ให้ดีขึ้น โดยการนำเอาทรัพยากรที่มีอยู่ในท้องถิ่นนั้น ๆ มาบริหารจัดการให้เกิดเป็นผลิตภัณฑ์สร้างรายได้ให้เกิดขึ้นโดยมีหลักการพื้นฐาน 3 ประการ
1 ภูมิปัญญาท้องถิ่นสู่สากล
2 พึ่งตนเองและคิดอย่างสร้างสรรค์
3 การสร้างทรัพยากรมนุษย์
ผลิตภัณฑ์โอทอปมีอะไรบ้าง
ผลิตภัณฑ์ที่จะเข้าข่ายเป็นสินค้า OTOP หรือ “หนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์” ได้นั้น ต้องผ่านกระบวนการผลิตที่ต้องใช้ภูมิปัญญา 5 อย่างดังนี้
1 ประเภทอาหาร หมายถึง ผลผลิตทางการเกษตรและอาหารแปรรูป ซึ่งต้องเข้าเงื่อนไขดังนี้คือ ได้รับมาตรฐาน อย., GAP, GMP, HACCP, Qmark, มผช., มอก., มาตรฐานเกษตรอินทรีย์, ฮาลาล และมีบรรจุภัณฑ์ เพื่อการจำหน่ายทั่วไป แบ่งเป็น 3 กลุ่ม ดังนี้
1.1 ผลิตผลทางเกษตรที่ใช้บริโภคสด
1.2 ผลิตผลทางการเกษตรที่ใช้เป็นวัตถุดิบ และผ่านกระบวนการแปรรูปเบื้องต้น
1.3 อาหารแปรรูปกึ่งสำเร็จรูป/สำเร็จรูป
2 ประเภทเครื่องดื่ม แบ่งเป็น 2 กลุ่ม
2.1 เครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์
2.2 เครื่องดื่มที่ไม่มีแอลกอฮอล์
3 ประเภทผ้า เครื่องแต่งกาย แบ่งเป็น 2 กลุ่ม
3.1 ผ้า
3.2 เครื่องแต่งกาย
4 ประเภทของใช้ / ของที่ระลึก แบ่งเป็น 7 กลุ่ม
4.1 ไม้
4.2 จักสาน
4.3 ดอกไม้ประดิษฐ์
4.4 โลหะ
4.5 เซรามิค
4.6 เคหะสิ่งทอ
4.7 อื่น
5 ประเภทสมุนไพรที่ไม่ใช่อาหาร แบ่งเป็น 3 กลุ่ม
5.1 ยาจากสมุนไพร
5.2 เครื่องสำอางค์สมุนไพร
5.3 วัตถุอันตรายที่ใช้ในบ้าน
ทั้งหมดทั้งมวลดังกล่าวการจะเป็นผลิตภัณฑ์หนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ หรือ ผลิตภัณฑ์ชุมชน ได้นั้น สินค้านั้นๆจะต้องไม่มีวัตถุดิบที่เป็นสิ่งผิดกฎหมาย, ไม่เป็นสินค้าเลียนแบบ ดัดแปลง หรือละเมิดทรัพย์สินทางปัญญา, ไม่ก่อให้เกิดอันตรายร้ายแรงต่อชุมชนและสิ่งแวดล้อม, ขัดต่อขนบธรรมเนียมประเพณี วัฒนธรรมอันดีของไทย
*กรณีเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีกฎหมายบังคับต้องได้รับอนุญาตให้ผลิต
และทั้งหมดนี้ก็คือคำนิยามของผลิตภัณฑ์ OTOP “หนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์” หรือในชื่อใหม่ “ผลิตภัณฑ์ชุมชน” ว่ามีลักษณะเป็นเช่นไร อะไรที่เข้าข่ายเป็นสินค้าโอทอปบ้าง รู้แบบนี้แล้วหันมาใช้ผลิตภัณฑ์ชุมชนเพื่อสนับเกษตรกรในพื้นที่ให้มีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นกันเถอะ นอกจากนี้การได้ไปชมแหล่งผลิตสินค้านั้น ๆ ถึงท้องถิ่นให้เห็นกับตาด้วยตัวเองก็ถือเป็นการท่องเที่ยวเชิงวิชาการที่นอกจากจะได้เที่ยวแล้ว ยังได้ความรู้ และของฝากติดไม้ติดมืออีกด้วย