หมดปัญหาหลังคารั่ว เมื่อใช้ ผลิตภัณฑ์ทากันซึม
ผ่านหน้าฝนมาหลายเดือนแล้วถึงเวลาที่เราต้องทำการปรับปรุง ซ่อมแซม หลังคาบ้านกันเสียที เพื่อให้พร้อมรับมือกับฤดูฝนหน้าที่จะมาถึงอีกไม่กี่เดือนข้างหน้า ถ้าพูดถึงหลังคา คงหนีไม่พ้นปัญหาแตก ร้าว ส่งผลให้เกิดการ รั่ว ซึม ของน้ำเข้ามาภายในตัวบ้านผ่านใต้ฝ้าเพดาน สร้างความเสียหายและหากปล่อยทิ้งไว้ปัญหาเล็ก ๆ อาจกลายเป็นปัญหาใหญ่ขึ้นได้
ปัจจัยที่ทำให้หลังคาแตก ร้าว
1 กระเบื้องหลังคาเสื่อมสภาพไปตามเวลา
2 กระเบื้องหลังคาแตก อันมีสาเหตุมาจากสิ่งของตกกระแทก
3 การมุงหลังคาที่ไม่ได้มาตรฐาน ใช้วัสดุด้อยคุณภาพ
4 รอยตะปูยึดกระเบื้องผุกร่อน
5 ปูนส่วนคลอบหลังคาเสื่อมสภาพจากสภาพอากาศ
จากสาเหตุดังกล่าวที่ว่ามาสามารถแก้ไขได้ด้วยวิธีง่าย ๆ ไม่ต้องถึงขั้นต้องรื้อหลังคาเปลี่ยนใหม่ทั้งหมด โดยเลือกใช้วัสดุซ่อมสร้างที่ได้มาตรฐานอย่างผลิตภัณฑ์จระเข้ รูฟ ชิลด์ อะคริลิกทากันซึม ทั้งยังสะท้อนความร้อน ที่สามารถตอบโจทย์ทุกงานซ่อมบ้านของคุณได้อย่าง 100%
อะคริลิกทากันซึม มีคุณสมบัติอย่างไร
- ทนทานแช่น้ำขังได้นาน ทนต่อแสงแดด
- ยืดหยุ่นตัวสูงกว่า 500% ปกปิดรอยแตกลายงา
- ผสมสารเคมีพิเศษ ช่วยสะท้อนความร้อนได้สูงถึง 88% ลดความร้อนสะสมเข้าอาคาร ลดอุณหภูมิภายใน 2 – 6 องศา เมื่อเทียบกับกันซึมทั่วไป
- ยึดเกาะกับวัสดุได้หลากหลาย คอนกรีต ปูนฉาบ พลาสติก PVC เหล็ก สังกะสี อลูมิเนียม กระเบื้องมุงหลังคา พื้นแผ่นยางมะตอย ไม้ อิฐ
- สามารถผสมสีหรือทาสีทับได้
- เหมาะสำหรับรอยแตกร้าวกว้างไม่เกิน 1 มม. หากรอยแตกมากกว่า 1 มม. คลิกอ่าน >>หลังคาบ้านรั่ว ซึม ทำยังไงดี !
วิธีใช้งาน อะคริลิกทากันซึม
1. คนอะคริลิก ให้เข้ากันก่อนใช้งาน
2. กรณีพื้นผิวขรุขระ รูพรุน ควรใช้จระเข้ รูฟ ชิลด์ผสมน้ำ 5–10 % ทาเป็นรองพื้นชั้นแรก
3. ใช้แปรงหรือลูกกลิ้ง ทาจระเข้รูฟ ชิลด์ให้ทั่ว 2 รอบ
4. หลังจากการทารอบแรกแล้วควรปล่อยให้แห้ง 4 ชั่วโมง ก่อนทารอบที่ 2
*ห้ามใช้ในบริเวณ หลังคา ดาดฟ้า ที่มีน้ำซึมตลอดเวลา
ถึงเวลาแล้วที่คุณควรหันมาใส่ใจกับหลังคาบ้านเสียที เพื่อให้หน้าฝนที่กำลังจะมาถึงนี้จะไม่เกิดปัญหาน้ำรั่วซึมเข้าบ้าน นอกจากนี้เลือกทีมช่างรวมถึงผลิตภัณฑ์ซ่อมบำรุงที่ได้มาตรฐานอย่าง จระเข้ รูฟ ชิลด์ อะคริลิกทากันซึม ผลิตภัณฑ์กันซึมคุณภาพระดับสากลคอยปกป้องบ้านแสนรักให้กับคุณ เพียงแค่นี้ก็หมดห่วงเรื่องน้ำรั่วซึมผ่านหลังคาบ้านได้แล้ว
อ่านเพิ่มเติม :
- จระเข้ โพลี ยู ซีล ใช้ทำอะไรได้บ้าง?
- สร้างห้องน้ำบ้านชั้น 2 อย่างไร ไม่ให้รั่วซึมลงชั้นล่าง ได้ผล 100%
- แก้ไข 6 ปัญหาเรื่องบ้านที่มาพร้อมหน้าฝน
- วิธีซ่อมรอยแตกร้าวบริเวณวงกบประตู หน้าต่าง